กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ของ NASA อาจตรวจพบก๊าซในชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์หินนอกระบบสุริยะ 55 Cancri e ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 41 ปีแสง และอาจจะกลายเป็นหลักฐานสำคัญว่า ดาวเคราะห์หินที่อยู่นอกระบบสุริยะของเรามีชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นลักษณะของดาวเคราะห์ที่อาจอาศัยอยู่ได้
ดาวเคราะห์หินแจนส์เซน (Janssen) หรือ 55 Cancri e มีอุณหภูมิร้อนจัดประมาณ 2,000 องศาเซลเซียส เส้นผ่านศูนย์กลางเกือบสองเท่าของโลกและมีความหนาแน่นมากกว่าเล็กน้อย ใช้เวลาโคจรรอบดาวฤกษ์ศูนย์กลางเพียง 18 ชั่วโมงเท่านั้น มีแนวโน้มว่าองค์ประกอบจะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์หินในระบบสุริยะของเรา
การศึกษาดาวเคราะห์หิน 55 Cancri e ก่อนหน้านี้ได้ใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ของ NASA ซึ่งเลิกใช้งานไปแล้ว ชี้ให้เห็นว่ามีชั้นบรรยากาศซึ่งเต็มไปด้วยโมเลกุลที่เกิดขึ้นในรูปของก๊าซบนโลก เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์
แม้ว่าดาวเคราะห์หิน 55 Cancri e จะร้อนเกินกว่าจะอยู่อาศัยได้ แต่นักวิจัยคาดว่าอาจจะใช้เพื่อศึกษาบรรยากาศ พื้นผิว และภายในของดาวเคราะห์หิน อาจให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพแรกเริ่มของโลก ดาวศุกร์ และดาวอังคาร ซึ่งเชื่อกันว่าถูกปกคลุมไปด้วยมหาสมุทรแมกมาในอดีต
ในท้ายที่สุดแล้ว มนุษย์เราเราต้องการทำความเข้าใจว่าสภาวะใดที่ทำให้ดาวเคราะห์หินสามารถรักษาชั้นบรรยากาศที่อุดมด้วยก๊าซได้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับดาวเคราะห์ที่สามารถอยู่อาศัยได้นั่นเอง
อ้างอิงข้อมูล: NASA
https://science.nasa.gov/missions/webb/nasas-webb-hints-at-possible-atmosphere-surrounding-rocky-exoplanet