begining-of-universe

จุดกำเนิดจักรวาลหรือเอกภพ เป็นเพียงทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์เสนอขึ้นหลังจากศึกษาพบว่า ดวงดาวหรือกลุ่มดาวในจักรวาลเกิดการเคลื่อนตัวออกห่างจากโลก สิ่งที่ทำให้รู้ว่าเกิดการเคลื่อนตัวนั้น นักวิทยาศาสตร์ตรวจวัดโดยดูจากปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของกลุ่มดาว ถ้ากลุ่มดาวเคลื่อนที่เข้าหาโลกจะให้แสงสีหนึ่ง แต่เมื่อเคลื่อนที่ออกจะให้แสงอีกสีหนึ่ง ก็คือแสงสีแดง หรือที่เรียกว่า “เรดชิฟต์” (redshift)

จากการค้นพบนี้ จึงเกิดคำถามตามมาว่า ทำไมกลุ่มดาวในเอกภพจึงเคลื่อนที่ออกจากเรา ? นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานและคาดการณ์กันไปต่าง ๆ นานา ส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะเกิดจากการระเบิดของอะไรสักอย่าง แล้วมวลสารจากการระเบิดก็ขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ ถ้าเปรียบให้เห็นภาพก็ให้นึกถึงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ระเบิด จะมีฝุ่นแผ่กระจายจากจุดระเบิดออกไป แล้ววิ่งช้าลงเมื่อหมดแรง

เรื่องการขยายตัวของมวลสารหลังระเบิดนั้นในเชิงทฤษฎีมีหลายแนวทาง บ้างก็ว่าหลังจากระเบิดจะเกิดการกระจายตัวไปแล้วหยุด แล้วหดกลับเข้ามา หรือกระจายตัวไปเรื่อย ๆ เราไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่นักวิทยาศาสตร์ทำงานโดยใช้หลักฐานที่มีอยู่ตอนนี้ตั้งเป็นทฤษฎีการกำเนิดเอกภพไว้ 3 ทฤษฎี คือ

  1. ระเบิดแล้วกระจายออกไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยความเร่งที่ลดลง
  2. ไม่มีการระเบิด เอกภพขยายตัวตลอดเวลา คือ ขยายตัวไปเรื่อย ๆ ด้วยความเร็วคงที่
  3. ระเบิดแล้วสักพักจะหยุด แล้วหดกลับ หรือที่เรียกกันว่า ทฤษฎีบิกแบง (big bang)

ข้อมูลโดย
ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ และ ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช