ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ที่นักวิทยาศาสตร์พบในปี 2560 เป็นหนึ่งในสถานที่ซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิต ที่จะเจริญเติบโตนอกระบบสุริยะ มีแนวโน้มที่ดียิ่งขึ้น และแปลกประหลาดยิ่งกว่านั้นมาก
จากการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ LHS-1140b ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 49 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าโลก 1.73 เท่า และมีมวลมากกว่าโลก 5.6 เท่า มีมหาสมุทรน้ำแข็งปกคลุมไปทั่ว และมีพื้นที่ลักษณะคล้ายม่านตาเพียงแห่งเดียวประมาณ 4,000 กิโลเมตร หันจ้องมองไปที่ดาวฤกษ์ของมันอยู่ตลอดเวลา
Charles Cadieux นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยมอนทรีออล กล่าวว่า “ในบรรดาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเขตอบอุ่นทั้งหมดที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้ LHS-1140b เป็นการค้นพบที่ช่วยยืนยันการพบน้ำบนพื้นผิวดาวเคราะห์ที่อยู่นอกเหนือระบบสุริยะของเรา และนี่จะเป็นก้าวสำคัญในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่อาจเอื้อต่อการอยู่อาศัยได้
LHS-1140b โคจรใกล้ดาวฤกษ์ของมันมากกว่าโลกมาก โดยใช้เวลาโคจรรอบดาวฤกษ์เพียง 25 วัน หากดาวฤกษ์ดวงนั้นเป็นเหมือนดวงอาทิตย์ ถือว่าอยู่ใกล้เกินไปสำหรับการมีชีวิต แต่ว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นเป็นดาวแคระแดงที่เย็นสลัว ดังนั้นระยะห่างระหว่างดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจึงไม่ได้เย็นจนน้ำผิวดาวแข็งตัวทั้งหมด และก็ไม่ได้ใกล้เกินไปจนไอน้ำระเหยหายไปจนหมด ช่วงคาบการหมุนรอบตัวเองอยู่ในระยะล็อคกับคาบการโคจรของมัน เพื่อให้หันด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์เสมอ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เดียวกับที่เราเห็นบนโลกและดวงจันทร์ เราจึงไม่เคยเห็นด้านไกลของดวงจันทร์จากโลกของเรา
ข้อมูลอ้างอิง : Science Alert