Pale-Blue-Dot

จุดสีฟ้าจาง ๆ (Pale Blue Dot) เป็นภาพถ่ายของโลกที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 โดยยานวอยเอจเจอร์ 1 ของ NASA ที่ระยะทาง 6 พันล้านกิโลเมตร จากดวงอาทิตย์

ภาพดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์คนดังอย่าง คาร์ล เซแกน (Carl Sagan) ตั้งชื่อหนังสือ “Pale Blue Dot: A Vision of the Human Future in Space” ซึ่งเขาเขียนไว้ว่า “ลองมองที่จุดนั้นอีกครั้ง จุดนั้นคือที่นี่ คือบ้าน คือพวกเรา บนนั้นทุกคนที่คุณรัก ทุกคนที่คุณรู้จัก ทุกคนที่คุณเคยได้ยินชื่อ มนุษย์ทุกคนที่เคยมีชีวิตอยู่ บนละอองฝุ่นที่ล่องลอยอยู่ในแสงอาทิตย์”

ยานวอยเอจเจอร์ 1 เป็นวัตถุที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา ด้วยความเร็วกว่า 64,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และยังเป็นวัตถุชิ้นแรกของมนุษย์ที่เดินทางออกจากระบบสุริยะ จนถึงปัจจุบันภารกิจของยานวอยเอจเจอร์ 1 ยังคงดำเนินต่อไป ภารกิจที่ถูกเพิ่มเข้ามานี้คือการสำรวจพื้นที่บริเวณขอบของระบบสุริยะ รวมถึง แถบไคเปอร์ เฮลิโอสเฟียร์ และอวกาศระหว่างดวงดาว

จุดสีฟ้าจาง ๆ (Pale Blue Dot) คืออะไร?

ในตอนแรกคณะทำงานคาดการณ์ว่ายานวอยเอจเจอร์ 1 จะปฏิบัติภารกิจสุดท้ายที่ดาวเสาร์ และหลังจากยานอวกาศบินผ่านดาวเสาร์เมื่อปี พ.ศ. 2533 คาร์ล เซแกน จึงได้เสนอให้ยานวอยเอจเจอร์ 1 ถ่ายภาพโลกเป็นครั้งสุดท้าย เซแกนชี้ว่าภาพถ่ายดังกล่าวอาจไม่ได้มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์มากนัก ด้วยความที่โลกจะปรากฏให้เห็นเป็นจุดเล็กมากจนแทบไม่เห็นรายละเอียดใด ๆ หากแต่ภาพถ่ายนี้จะมีความหมายอย่างยิ่งต่อมุมมองของเรา ในเรื่องตำแหน่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในจักรวาล

ในตอนแรกคณะทำงานคาดการณ์ว่ายานวอยเอจเจอร์ 1 จะปฏิบัติภารกิจสุดท้ายที่ดาวเสาร์ และหลังจากยานอวกาศบินผ่านดาวเสาร์เมื่อ พ.ศ. 2533 คาร์ล เซแกน จึงได้เสนอให้ยาน Voyager 1 ถ่ายภาพโลกเป็นครั้งสุดท้าย เขาชี้ว่าภาพถ่ายดังกล่าวอาจไม่ได้มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์มากนัก ด้วยความที่โลกจะปรากฏให้เห็นเป็นจุดเล็กมากจนแทบไม่เห็นรายละเอียดใด ๆ หากแต่ภาพถ่ายนี้จะมีความหมายอย่างยิ่งต่อมุมมองของเราในเรื่องตำแหน่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในจักรวาล

หลายคนในคณะทำงานสนับสนุนแนวคิดนี้ แต่บางคนก็ไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่าการหันกล้องกลับมายังศูนย์กลางระบบสุริยะเพื่อถ่ายภาพโลกนั้น มีความเสี่ยงที่ระบบประมวลภาพของยานจะถูกแสงอาทิตย์ทำความเสียหายจนแก้ไขคืนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ริชาร์ด ทรูลี ผู้บริหาร NASAในขณะนั้น ได้ลงมาจัดการปัญหาด้วยตนเอง ทำให้ภารกิจถ่ายภาพโลกนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี

ดาวน์โหลดไฟล์ภาพแบบ Hi-Res

เครดิตภาพ: NASA/JPL-Caltech